วันจันทร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

จรรยาบรรณของนักคอมพิวเตอร์

จรรยาบรรณของนักคอมพิวเตอร์

จรรยาบรรณ ต่อตนเอง

๑. ยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริต ปฏิบัติหน้าที่และดำรงชีวิตเหมาะสมตามหลักธรรมาภิบาล

๑.๑ ประกอบวิชาชีพนักคอมพิวเตอร์ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต มีความยุติธรรม ใฝ่หาความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอ เป็นการพัฒนาตน และงานที่รับผิดชอบ อันจะเป็นการเพิ่มศักยภาพให้ตนเองและหน่วยงานที่สังกัด

๑.๒ ผู้ประกอบวิชาชีพคอมพิวเตอร์จะมีความวิริยะอุตสาหะในการปฏิบัติงานเพื่อให้ บรรลุความสำเร็จของงานสูงสุด

จรรยาบรรณ ต่อผู้ร่วมงาน

๒. ตั้งมั่นอยู่ในความถูกต้อง มีเหตุผล และรู้รักสามัคคี

๒.๑ ไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าของสิทธิเดิมอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร

๒.๒ ให้ความยกย่องและนับถือผู้ร่วมงานและผู้ร่วมอาชีพทุกระดับที่มีความรู้ความ สามารถและความประพฤติดี

๒.๓ รักษาและแสวงหามิตรภาพระหว่างผู้ร่วมงานและผู้ร่วมอาชีพ

จรรยาบรรณ ต่อวิชาชีพ

๓. ไม่ประพฤติหรือกระทำการใดๆอันเป็นเหตุให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ในวิชาชีพ แห่งตน

๓.๑ ใช้ความรู้ความสามารถในทางสร้างสรรค์ ไม่ใช้ในทางทำลายหรือกลั่นแกล้งให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย

๓.๒ ไม่แอบอ้าง อวดอ้าง ดูหมิ่นต่อบุคคลอื่นๆหรือกลุ่มวิชาชีพอื่น

๓.๓ ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อส่งเสริมเกียรติคุณของวิชาชีพ ผู้ร่วมอาชีพและเพื่อพัฒนาวิชาชีพ

จรรยาบรรณ ต่อสังคม

๔. ปฏิบัติหน้าที่ ปฏิบัติตน ในวิชาชีพนักคอมพิวเตอร์ที่ดี เป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม

๔.๑ ไม่เรียกรับหรือยอมรับทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งสำหรับตนเอง หรือผู้อื่นโดยมิชอบด้วยกฎ ระเบียบ และหลักคุณธรรม จริยธรรม

๔.๒ ไม่ใช้อำนวยหน้าที่โดยไม่ชอบธรรมในการเอื้อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับ ประโยชน์หรือเสียประโยชน์

๔.๓ ไม่ใช้ความรู้ความสามารถไปในทางล่อลวง หลอกลวง จนเป็นเหตุให้เกิดผลเสียต่อผู้อื่น

จรรยาบรรณ ต่อผู้รับบริการ

๕. เคารพในสิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคของผู้อื่น ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใส เป็นธรรม

๕.๑ รับฟังความคิดเห็นแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างบุคคล เครือข่าย และองค์กรที่เกี่ยวข้อง

๕.๒ เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมและสามารถตรวจสอบการปฏิบัติงานได้



thank : http://www.finearts-psdg.com/n/tabid/247/Default.aspx


เทคโนโลยีบีบอัดเสียง




เทคโนโลยีสารสนเทศ

เทคโนโลยีสารสนเทศกับการปฏิรูปการศึกษา

คุณลักษณะของสารสนเทศ

วิธีการประมวลผลสารสนเทศ

วิธีการประมวลผลสารสนเทศมี 2 วิธีดังต่อไปนี้

(1) การประมวลผลแบบเชื่อมตรง (online processing) หมายถึง การทำงานในขณะที่ข้อมูลวิ่งไปบนสายสัญญาณเชื่อมต่อจากเครื่องปลายทาง (terminal) ไปยังฐานข้อมูลของเครื่องหลักที่ใช้ในการประมวลผล
การประมวลผลแบบเชื่อมตรงจึงเป็นการประมวลผลโดยทันทีทันใด เช่น การจองตั๋วเครื่องบิน การซื้อสินค้า
ในห้างสรรพสินค้า การฝากถอนเงินเอทีเอ็ม การประมวลผลแบบเชื่อมตรงจึงเป็นวิธีที่ใช้กันมากวิธีหนึ่ง

(2) การประมวลผลแบบกลุ่ม (batch processing) หมายถึง การประมวลผลในเรื่องที่สนใจเป็นครั้งๆ
เช่น เมื่อต้องการทราบข้อมูลผลสำรวจความนิยมของประชาชนต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน
หรือที่เรียกว่า โพล (poll) ก็มีการสำรวจข้อมูลเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล เมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลได้แล้ว
ก็นำมาป้อนเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วนำข้อมูล นั้นมาประมวลผลตามโปรแกรมที่ได้กำหนดไว้
เพื่อรายงานหรือสรุปผลหา คำตอบ กรณีการประมวลผลแบบกลุ่มจึงกระทำในลักษณะเป็นครั้งๆ
เพื่อให้ได้ผลลัพธ์โดยจะต้องมีการรวบรวมข้อมูลไว้ก่อน

thank : http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/prajuab/tanyalak_k/2/c2_7.htm#

คุณสมบัติของข้อมุลสารสนเทศ

คุณสมบัติของข้อมุลสารสนเทศ

คุณสมบัติของข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลจำเป็นต้องมีความพยายามและตั้งใจดำเนินการ หรือกล่าวได้ว่าการได้มาซึ่งข้อมูลที่จะนำมาใช้ประโยชน์ องค์การจำเป็นต้องลงทุน ทั้งในด้านตัวข้อมูล เครื่องจักรและอุปกรณ์ ตลอดจนการพัฒนาบุคลากรขึ้นมารองรับ เพื่อให้ใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดการระบบข้อมูล
จึงต้องคำนึงถึงปัญหาเหล่านี้ และพยายามมองปัญหาแบบที่เป็นจริง สามารถดำเนินการได้ให้ประสิทธิผล
คุ้มค่ากับการลงทุน ดังนั้นการดำเนินงานเพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศที่ดี ข้อมูลจะต้องมีคุณสมบัติขั้นพื้นฐาน ดังนี้

1. ความถูกต้อง หากมีการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วข้อมูลเหล่านั้นเชื่อถือไม่ได้จะทำให้เกิดผลเสียอย่างมาก ผู้ใช้ไม่กล้าอ้างอิงหรือนำเอาไปใช้ประโยชน์ ซึ่งเป็นเหตุให้การตัดสินใจของผู้บริหารขาดความแม่นยำ และอาจมีโอกาสผิดพลาดได้ โครงสร้าง ข้อมูล ที่ออก แบบต้องคำนึงถึงกรรมวิธีการดำเนินงานเพื่อให้ได้ความถูกต้องแม่นยำมากที่สุด โดยปกติความผิดพลาดของสารสนเทศ ส่วนใหญ่ มาจากข้อมูลที่ไม่มีความถูกต้องซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากคนหรือเครื่องจักร การออกแบบระบบจึงต้องคำนึงถึงในเรื่องนี้


2. ความรวดเร็วและเป็นปัจจุบัน การได้มาของข้อมูลจำเป็นต้องให้ทันต่อความต้องการของผู้ใช้ มีการตอบสนองต่อผู้ใช้ได้ตี ความหมายสารสนเทศได้ทันต่อเหตุการณ์หรือความต้องการ มีการออกแบบระบบการเรียนค้น และรายงานตามผู้ใช้


3. ความสมบูรณ์ ความสมบูรณ์ของสารสนเทศขึ้นกับการรวบรวมข้อมูลและวิธีการทางปฏิบัติด้วย ในการดำเนินการจัดทำ
สารสนเทศต้องสำรวจและสอบถามความต้องการใช้ข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์ในระดับหนึ่งที่เหมาะสม


4. ความชัดเจนและกะทัดรัด การจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากจะต้องใช้พื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลมากจึงจำเป็นต้องออกแบบโครงสร้างข้อมูลให้กะทัดรัดสื่อความหมายได้ มีการใช้รกัสหรือย่นย่อข้อมูลให้เหมาะสมเพื่อที่จะจัดเก็บเข้าไว้ในระบบคอมพิว
เตอร์


5. ความสอดคล้อง ความต้องการเป็นเรื่องที่สำคัญ ดังนั้นจึงต้องมีการสำรวจเพื่อหาความต้องการของหน่วยงานและองค์
การ ดูสภาพการใช้ข้อมูล ความลึกหรือความกว้างของขอบเขตของข้อมูลที่สอดคล้องกับความต้องการ


.....สารสนเทศที่ดีนั้นจะต้องมาคุณสมบัติตามที่กล่าวมาข้างต้น หรืออาจมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้าง เพราะเกณฑ์ของแต่ละแห่ง อาจใช้เกณฑ์ที่แตกต่างกัน.....

การรู้สารสนเทศ (Information literacy)

การรู้สารสนเทศ (Information literacy)

ความหมาย
การรู้สารสนเทศ (Information literacy) หมายถึง ความรู้ความสามารถและทักษะของบุคคลในการเข้าถึงสารสนเทศ ประเมินสารสนเทศที่ค้นมาได้ และใช้สารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพทุกรูปแบบ ผู้รู้สารสนเทศจะต้องมีทักษะในด้านต่างๆ เช่น ทักษะการคิดวิเคราะห์และ / หรือ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทักษะการใช้ภาษา ทักษะการใช้ห้องสมุด ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

ความสำคัญ
การรู้สารสนเทศมีความสำคัญต่อความสำเร็จของบุคคลในด้านต่างๆ ดังนี้
1. การศึกษา การรู้สารสนเทศเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการศึกษาของบุคคลทุกระดับ ทั้งการศึกษาในระบบโรงเรียน การศึกษานอกระบบโรงเรียน การศึกษาตามอัธยาศัย และการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาในปัจจุบันตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มีการปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังนั้นบทบาทของผู้สอนจึงเปลี่ยนเป็นผู้ให้คำแนะนำชี้แนะโดยอาศัยทรัพยากรเป็นพื้นฐานสำคัญ

.........................................................................................................................................................................

2. การดำรงชีวิตประจำวัน การรู้สารสนเทศเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการดำรงชีวิตประจำวัน เพราะผู้รู้สารสนเทศจะเป็นผู้ที่สามารถวิเคราะห์ประเมินและใช้สารสนเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ตนเองเมื่อต้องการตัดสินใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ถ้าต้องการซื้อเครื่องปรับอากาศของบริษัทใดบริษัทหนึ่งก็ต้องพิจารณามาตรฐาน คุณภาพ บริการหลังการขาย และเปรียบเทียบราคา แล้วจึงค่อยตัดสินใจ เป็นต้น
.........................................................................................................................................................................
3. การประกอบอาชีพ การรู้สารสนเทศมีความสำคัญต่อการประกอบอาชีพของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เพราะบุคคลนั้นสามารถแสวงหาสารสนเทศที่มีความจำเป็นต่อการประกอบอาชีพของตนเองได้ เช่น เกษตรกร เมื่อประสบปัญหาโรคระบาดกับพืชผลทางการเกษตรของตน ก็สามารถหาตัวยาหรือสารเคมีเพื่อมากำจัดโรคระบาด ดังกล่าวได้ เป็นต้น
.........................................................................................................................................................................
4. สังคม เศรษฐกิจ และการเมือง การรู้สารสนเทศเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะสังคมในยุคสารสนเทศ (Information Age) บุคคลจำเป็นต้องรู้สารสนเทศเพื่อปรับตนเองให้เข้ากับสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง เช่น การอยู่ร่วมกันในสังคม การบริหารจัดการ การดำเนินธุรกิจและการแข่งขัน การบริหารบ้านเมืองของผู้นำประเทศ เป็นต้น อาจกล่าวได้ว่าผู้รู้สารสนเทศ คือ ผู้ที่มีอำนาจสามารถาชี้วัดความสามารถขององค์กรหรือประเทศชาติได้ ดังนั้นประชากรที่เป็นผู้รู้สารสนเทศจึงถือว่าเป็นทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุดของประเทศ
.........................................................................................................................................................................
องค์ประกอบของการรู้สารสนเทศ
การรู้สารสนเทศเป็นทั้งความรู้ ความสามารถ ทักษะ และกระบวนการอันเป็นประโยชน์ในการพัฒนา การเรียนรู้ทุกรูปแบบ สมาคมห้องสมุดอเมริกัน (American Library Association. 2005 : Online) ได้กำหนดองค์ประกอบของการรู้สารสนเทศไว้ 4 ประการ คือ
1. ความสามารถในการตระหนักว่าเมื่อใดจำเป็นต้องใช้สารสนเทศ ผู้เรียนจะต้องกำหนดเรื่องที่จะศึกษาค้นคว้า กำหนดความต้องการสารสนเทศ ระบุชนิดและรูปแบบที่หลากหลายของแหล่งสารสนเทศที่จะศึกษา เช่น ห้องสมุด ศูนย์สารสนเทศ พิพิธภัณฑ์
หอจดหมายเหตุ บุคคล สถานที่ อินเทอร์เนต เป้นต้น รวมทั้งตระหนักถึงค่าใช้จ่ายและประโยชน์ที่ได้รับ และทราบขอบเขตของสารสนเทศที่จำเป็น

.........................................................................................................................................................................

2. การเข้าถึงสารสนเทศ ผู้เรียนสามารถเลือกวิธีการค้นคืนสารสนเทศที่เหมาะสม กำหนดกลยุทธ์การค้นคืนอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถค้นคืนสารสนเทศออนไลน์หรือสารสนเทศจากบุคคลโดยใช้วิธีการที่หลากหลายสามารถปรับกลยุทธ์การค้นคืนที่เหมาะสมตามความจำเป็น รวมถึงการตัดตอน บันทึก และการจัดการสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศ
.........................................................................................................................................................................
3. การประเมินสารสนเทศ ผู้เรียนสามารถสรุปแนวคิดสำคัญจากสารสนเทศที่รวบรวม โดยใช้เกณฑ์การประเมินสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศ ได้แก่ ความน่าเชื่อถือ ความเที่ยงตรง ความถูกต้อง และความทันสมัย สามารถสังเคราะห์แนวคิดหลักเพื่อสร้างแนวคิดใหม่ เปรียบเทียบความรู้ใหม่กับความรู้เดิมเพื่อพิจารณาว่าอะไรคือสิ่งที่เพิ่มขึ้น อะไรคือสิ่งที่ขัดแย้งกัน และอะไรคือสิ่งที่คล้อยตามกัน
.........................................................................................................................................................................
4. ความสามารถในการใช้สารสนเทศที่ต้องการอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เรียนสามารถใช้สารสนเทศใหม่ผนวกกับสารสนเทศที่มีอยู่ในการวางแผนและสร้างผลงาน หรือการกระทำตามหัวข้อที่กำหนดทบทวนกระบวนการ พัฒนาการผลิตผลงานของตนเอง และสามารถสื่อสารหรือเผยแพร่ผลงานของตนเองต่อบุคคลอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

..........จากบทความข้างต้นข้าพเจ้าเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง เพราะการที่เรารู้สารสนเทศจะทำให้เราสามารถนำสารสนเทศนั้นมาใช้ได้อย่างเกิดประโยชน์ ซึ่งสารสนเทศก็มีความเกี่ยวข้องกับเราอยู่ในทุกๆ วัน ทั้งเรื่องการเรียน การใช้ชีวิตประจำวัน หรือแม้กระทั่งการตัดสินใจต่างๆ ยังต้องใช้สารสนเทศเข้ามาช่วย..........

Thank : http://popofblog.blogspot.com/

VDO เกี่ยวกับ Photoshop



...................................................................................



...................................................................................

วันจันทร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

PHP Tutorial #2 - Login form

การรักษาความปลอดภัยอีเมล์

ห้องสมุดกับการจัดเรียงหนังสือระบบดิวอี้

ห้อง สมุด

..........ห้องสมุด (library) คือแหล่งสารสนเทศ ที่รวบรวมทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ เช่น หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ จุลสาร กฤตภาค
หรือบทความ เป็นต้น โดยจะมีบรรณารักษ์ เป็นผู้ดำเนินงาน และบริหารงานในห้องสมุด จัดเก็บอย่างเป็นระบบหมวดหมู่อย่างเรียบร้อย เพื่อให้ผู้ใช้บริการ
มี ความสะดวกในการใช้งาน..........
..........ห้องสมุดจะทำหน้าที่เก็บรวบรวมสารสนเทศ ต่างๆ ตลอดจนเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีการสื่อสาร อีกทั้งยังมีเครื่องมือในการค้นหา
และให้บริการสื่อต่างๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ใช้บริการ..........

ความ สำคัญของห้องสมุด

..........ห้องสมุดมีความสำคัญ กับผู้ใช้บริการทุกคนเพราะเป็นแหล่งรวบรวมความรู้ทุกสาขาวิชาให้สามารถค้นหา สารสนเทศ ความรู้ อื่นๆ
ห้องสมุดยังเป็นสถานที่ที่ผู้ใช้บริการสามารถ เลือกอ่านหนังสือ และค้นคว้าหาความรู้ใหม่ๆ ด้วยตนเองอย่างอิสระ และยังสามารถทำให้ผู้ใช้บริการ
สามารถมองเห็นความแตกต่างของหนังสือ ว่าเล่มไหนเขียนได้ดี สามารถจดจำแนวทางและการเขียนที่ดี แล้วนำไปประยุกต์ใช้ได้
นอกจากนั้นยังเป็นการส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้ เกิดประโยชน์ และเป็นศูนย์รวบรวมสารสนเทศที่ทันสมัยและทันต่อเหตุการณ์อยู่เสมอ..........

ระบบทศนิยมดิวอี้

..........ระบบทศนิยมดิวอี้ (Dewey Decimal Classification) เรียกสั้นๆ ว่า D.C. หรือ D.D.C เป็นระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือในห้องสมุด
ที่นิยมระบบหนึ่ง คิดค้นขึ้นโดยชาวอเมริกัน ชื่อ "เมลวิล ดิวอี้" ในขณะที่เขากำลังเป็นผู้ช่วยบรรณารักษ์อยู่ที่วิทยาลัยแอมเฮอร์ส (Amherst College)
การจัดหมวดหมู่หนังสือตามระบบทศนิยมของดิวอี้ แบ่งหนังสือออกเป็นหมวดหมู่ต่างๆ จากหมวดหมู่ใหญ่ไปหาหมวดหมู่ย่อย
- การแบ่งหมวดหมู่ครั้งที่ 1 (หมวดหมู่ใหญ่) เป็นการแบ่งหมวดหมู่หนังสือครั้งที่ 1 โดยแบ่งตามประเภทของสรรพวิชาใหญ่ๆ 10 หมวด
โดยใช้ตัวเลขหลักร้อยเป็นตัวบ่งชี้
หมวดที่ 1.000 เบ็ตเตล็ดหรือความรู้ทั่วไป (Generalities) วิชาความรู้ที่ไม่อาจจัดไว้ในหมวดใดๆ
หมวดที่ 2.100 ปรัชญา (Philosophy) เป็นวิชาที่มนุษย์ต้องการทราบว่า ตนคือใคร เกิดมาทำไม
หมวดที่ 3.200 ศาสนา(Religion) วิชาที่มนุษย์ต้องการค้นหาความจริงที่ทำให้เกิดทุกข์ และความหลุดพ้นจากความทุกข์
หมวดที่ 4.300 สังคมศาสตร์ (Social sciences) วิชาที่กล่าวถึงความสำพันธ์ของมนุษย์ เมื่อมนุษย์มาอยู่รวมกันเป็นสังคมขึ้นมา
หมวดที่ 5.400 ภาษาศาสตร์ (Language) วิชาที่ช่วยในการสื่อสาร ทำให้มนุษย์เข้าใจซึ่งกันและกัน
หมวดที่ 6.500 วิทยาศาสตร์ (Science) วิชาที่มนุษย์ต้องการทราบความจริงของธรรมชาติ
หมวดที่ 7.600 วิทยาศาสตร์ประยุกต์ หรือเทคโนโลยี (Technology) วิชาที่มนุษย์เอาความรู้เกี่ยวกับความจริงของธรรมชาติมาประยุกต์ใช้ให้เกิด
ประโยชน์กับตน
หมวดที่ 8.700 ศิลปกรรมและการบันเทิง (Arts and recreation) วิชาที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อความบันเทิงใจของตน
หมวดที่ 9.800 วรรณคดี (Literature) วิชาที่มนุษย์ต้องการแสดงความคิด ความประทับใจไว้ด้วยสัญลักษณ์ที่เป็นตัวอักษร
หมวดที่ 10.900 ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ (History and geography) วิชาที่ได้บันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในยุกต์สมัยต่างๆ
เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้รับทราบ

การแบ่ง หมวดหมู่หนังสือระดับที่ 2

แบ่งออกเป็นอีก 10 หมวดย่อย โดยใช้ตัวเลขหลักสิบเป็นตัวบ่งชี้ รวมเป็น 100 หมวดย่อย
000 วิทยาการคอมพิวเตอร์และความรู้ทั่วไป
010 บรรณานุกรม แคตตาล็อก
020 บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
030 หนังสือรวบรวมความรู้ทั่วไป สารานุกรม
040 ยังไม่กำหนดใช้
050 สิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง วารสาร และดรรชนี
060 องค์การและพิพิธภัณฑวิทยา
070 สื่อใหม่ วารสารศาสตร์ การพิมพ์
080 ชุมนุมนิพนธ์
090 ต้นฉบับตัวเขียน หนังสือหายาก
________________________________________
100 ปรัชญา
110 อภิปรัชญา
120 ญาณวิทยา ความเป็นเหตุผล ความเป็นมนุษย์
130 จิตวิทยานามธรรม
140 แนวความคิดปรัชญาเฉพาะกลุ่ม
150 จิตวิทยา
160 ตรรกศาสตร์ ตรรกวิทยา
170 จริยศาสตร์ ศีลธรรม
180 ปรัชญาสมัยโบราณ สมัยกลาง ตะวันออก
190 ปรัชญาตะวันตกสมัยใหม่
________________________________________
200 ศาสนา
210 ศาสนาธรรมชาติ
220 ไบเบิล
230 เทววิทยาตามแนวคริสต์ศาสนา
240 ศีลธรรมชาวคริสต์ การอุทิศเพื่อศาสนา
250 คริสต์ศาสนาในท้องถิ่นและระเบียบแบบแผนปฏิบัติ
260 สังคมชาวคริสต์ เทววิทยาทางศาสนา
270 ประวัติคริสต์ศาสนา
280 นิกายต่างๆ ในคริสต์ศาสนา
290 ศาสนาเปรียบเทียบและศาสนาอื่นๆ
________________________________________
300 สังคมศาสตร์
310 สถิติศาสตร์
320 รัฐศาสตร์ การเมือง การปกครอง
330 เศรษฐศาสตร์
340 กฎหมาย
350 รัฐประศาสนศาสตร์ และวิทยาการทหาร
360 การบริการสังคม และสมาคม
370 การศึกษา
380 การพาณิชย์ การสื่อสาร การขนส่ง
390 ประเพณี ขนบธรรมเนียม คติชนวิทยา
________________________________________
400 ภาษา
410 ภาษาศาสตร์
420 ภาษาอังกฤษ
430 ภาษาเยอรมัน
440 ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมานซ์
450 ภาษาอิตาลี ภาษาโรมัน
460 ภาษาสเปน ภาษาโปรตุเกส
470 ภาษาละติน
480 ภาษากรีก
490 ภาษาอื่นๆ
500 วิทยาศาสตร์
510 คณิตศาสตร์
520 ดาราศาสตร์
530 ฟิสิกส์
540 เคมี
550 วิทยาศาสตร์โลก
560 บรรพชีวินวิทยา
570 ชีววิทยา
580 พฤกษศาสตร์
590 สัตววิทยา

________________________________________
600 วิทยาศาสตร์ประยุกต์ เทคโนโลยี
610 แพทยศาสตร์
620 วิศวกรรมศาสตร์
630 เกษตรศาสตร์
640 คหกรรมศาสตร์ ชีวิตครอบครัว
650 การจัดการธุรกิจ
660 วิศวกรรมเคมี
670 โรงงานอุตสาหกรรม
680 สินค้าที่ผลิตจากเครื่องจักร
690 การก่อสร้าง
________________________________________
700 ศิลปกรรม การบันเทิง
710 ภูมิสถาปัตย์
720 สถาปัตยกรรม
730 ประติมากรรม
740 การวาดเขียน มัณฑนศิลป์
750 จิตรกรรม ภาพเขียน
760 ศิลปะการพิมพ์ ศิลปะกราฟิก
770 การถ่ายรูป ภาพถ่าย
780 ดนตรี
790 การบันเทิง นันทนาการ กีฬา
________________________________________
800 วรรณกรรม วรรณคดี
810 วรรณคดีอเมริกันในภาษาอังกฤษ
820 วรรณคดีภาษาอังกฤษ ภาษาอังกฤษโบราณ
830 วรรณคดีภาษาเยอรมัน
840 วรรณคดีภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมานซ์
850 วรรณคดีภาษาอิตาลี ภาษาโรมัน
860 วรรณคดีภาษาสเปน ภาษาโปรตุเกส
870 วรรณคดีภาษาละติน
880 วรรณคดีภาษากรีก
890 วรรณคดีภาษาอื่นๆ
________________________________________
900 ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์
910 ภูมิศาสตร์ การท่องเที่ยว
920 ชีวประวัติ เครื่องราชอิสริยาภรณ์
930 ประวัติศาสตร์ยุคโบราณ
940 ประวัติศาสตร์ยุโรป โลกตะวันตก
950 ประวัติศาสตร์เอเชีย โลกตะวันออก
960 ประวัติศาสตร์แอฟริกา
970 ประวัติศาสตร์อเมริกาเหนือ
980 ประวัติศาสตร์อเมริกาใต้
990 ประวัติศาสตร์ส่วนอื่นๆ ของโลก

Thank :

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B9%89

http://www.w-nikro.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=381255&Ntype=5