วันจันทร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ห้องสมุดกับการจัดเรียงหนังสือระบบดิวอี้

ห้อง สมุด

..........ห้องสมุด (library) คือแหล่งสารสนเทศ ที่รวบรวมทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ เช่น หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ จุลสาร กฤตภาค
หรือบทความ เป็นต้น โดยจะมีบรรณารักษ์ เป็นผู้ดำเนินงาน และบริหารงานในห้องสมุด จัดเก็บอย่างเป็นระบบหมวดหมู่อย่างเรียบร้อย เพื่อให้ผู้ใช้บริการ
มี ความสะดวกในการใช้งาน..........
..........ห้องสมุดจะทำหน้าที่เก็บรวบรวมสารสนเทศ ต่างๆ ตลอดจนเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีการสื่อสาร อีกทั้งยังมีเครื่องมือในการค้นหา
และให้บริการสื่อต่างๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ใช้บริการ..........

ความ สำคัญของห้องสมุด

..........ห้องสมุดมีความสำคัญ กับผู้ใช้บริการทุกคนเพราะเป็นแหล่งรวบรวมความรู้ทุกสาขาวิชาให้สามารถค้นหา สารสนเทศ ความรู้ อื่นๆ
ห้องสมุดยังเป็นสถานที่ที่ผู้ใช้บริการสามารถ เลือกอ่านหนังสือ และค้นคว้าหาความรู้ใหม่ๆ ด้วยตนเองอย่างอิสระ และยังสามารถทำให้ผู้ใช้บริการ
สามารถมองเห็นความแตกต่างของหนังสือ ว่าเล่มไหนเขียนได้ดี สามารถจดจำแนวทางและการเขียนที่ดี แล้วนำไปประยุกต์ใช้ได้
นอกจากนั้นยังเป็นการส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้ เกิดประโยชน์ และเป็นศูนย์รวบรวมสารสนเทศที่ทันสมัยและทันต่อเหตุการณ์อยู่เสมอ..........

ระบบทศนิยมดิวอี้

..........ระบบทศนิยมดิวอี้ (Dewey Decimal Classification) เรียกสั้นๆ ว่า D.C. หรือ D.D.C เป็นระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือในห้องสมุด
ที่นิยมระบบหนึ่ง คิดค้นขึ้นโดยชาวอเมริกัน ชื่อ "เมลวิล ดิวอี้" ในขณะที่เขากำลังเป็นผู้ช่วยบรรณารักษ์อยู่ที่วิทยาลัยแอมเฮอร์ส (Amherst College)
การจัดหมวดหมู่หนังสือตามระบบทศนิยมของดิวอี้ แบ่งหนังสือออกเป็นหมวดหมู่ต่างๆ จากหมวดหมู่ใหญ่ไปหาหมวดหมู่ย่อย
- การแบ่งหมวดหมู่ครั้งที่ 1 (หมวดหมู่ใหญ่) เป็นการแบ่งหมวดหมู่หนังสือครั้งที่ 1 โดยแบ่งตามประเภทของสรรพวิชาใหญ่ๆ 10 หมวด
โดยใช้ตัวเลขหลักร้อยเป็นตัวบ่งชี้
หมวดที่ 1.000 เบ็ตเตล็ดหรือความรู้ทั่วไป (Generalities) วิชาความรู้ที่ไม่อาจจัดไว้ในหมวดใดๆ
หมวดที่ 2.100 ปรัชญา (Philosophy) เป็นวิชาที่มนุษย์ต้องการทราบว่า ตนคือใคร เกิดมาทำไม
หมวดที่ 3.200 ศาสนา(Religion) วิชาที่มนุษย์ต้องการค้นหาความจริงที่ทำให้เกิดทุกข์ และความหลุดพ้นจากความทุกข์
หมวดที่ 4.300 สังคมศาสตร์ (Social sciences) วิชาที่กล่าวถึงความสำพันธ์ของมนุษย์ เมื่อมนุษย์มาอยู่รวมกันเป็นสังคมขึ้นมา
หมวดที่ 5.400 ภาษาศาสตร์ (Language) วิชาที่ช่วยในการสื่อสาร ทำให้มนุษย์เข้าใจซึ่งกันและกัน
หมวดที่ 6.500 วิทยาศาสตร์ (Science) วิชาที่มนุษย์ต้องการทราบความจริงของธรรมชาติ
หมวดที่ 7.600 วิทยาศาสตร์ประยุกต์ หรือเทคโนโลยี (Technology) วิชาที่มนุษย์เอาความรู้เกี่ยวกับความจริงของธรรมชาติมาประยุกต์ใช้ให้เกิด
ประโยชน์กับตน
หมวดที่ 8.700 ศิลปกรรมและการบันเทิง (Arts and recreation) วิชาที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อความบันเทิงใจของตน
หมวดที่ 9.800 วรรณคดี (Literature) วิชาที่มนุษย์ต้องการแสดงความคิด ความประทับใจไว้ด้วยสัญลักษณ์ที่เป็นตัวอักษร
หมวดที่ 10.900 ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ (History and geography) วิชาที่ได้บันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในยุกต์สมัยต่างๆ
เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้รับทราบ

การแบ่ง หมวดหมู่หนังสือระดับที่ 2

แบ่งออกเป็นอีก 10 หมวดย่อย โดยใช้ตัวเลขหลักสิบเป็นตัวบ่งชี้ รวมเป็น 100 หมวดย่อย
000 วิทยาการคอมพิวเตอร์และความรู้ทั่วไป
010 บรรณานุกรม แคตตาล็อก
020 บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
030 หนังสือรวบรวมความรู้ทั่วไป สารานุกรม
040 ยังไม่กำหนดใช้
050 สิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง วารสาร และดรรชนี
060 องค์การและพิพิธภัณฑวิทยา
070 สื่อใหม่ วารสารศาสตร์ การพิมพ์
080 ชุมนุมนิพนธ์
090 ต้นฉบับตัวเขียน หนังสือหายาก
________________________________________
100 ปรัชญา
110 อภิปรัชญา
120 ญาณวิทยา ความเป็นเหตุผล ความเป็นมนุษย์
130 จิตวิทยานามธรรม
140 แนวความคิดปรัชญาเฉพาะกลุ่ม
150 จิตวิทยา
160 ตรรกศาสตร์ ตรรกวิทยา
170 จริยศาสตร์ ศีลธรรม
180 ปรัชญาสมัยโบราณ สมัยกลาง ตะวันออก
190 ปรัชญาตะวันตกสมัยใหม่
________________________________________
200 ศาสนา
210 ศาสนาธรรมชาติ
220 ไบเบิล
230 เทววิทยาตามแนวคริสต์ศาสนา
240 ศีลธรรมชาวคริสต์ การอุทิศเพื่อศาสนา
250 คริสต์ศาสนาในท้องถิ่นและระเบียบแบบแผนปฏิบัติ
260 สังคมชาวคริสต์ เทววิทยาทางศาสนา
270 ประวัติคริสต์ศาสนา
280 นิกายต่างๆ ในคริสต์ศาสนา
290 ศาสนาเปรียบเทียบและศาสนาอื่นๆ
________________________________________
300 สังคมศาสตร์
310 สถิติศาสตร์
320 รัฐศาสตร์ การเมือง การปกครอง
330 เศรษฐศาสตร์
340 กฎหมาย
350 รัฐประศาสนศาสตร์ และวิทยาการทหาร
360 การบริการสังคม และสมาคม
370 การศึกษา
380 การพาณิชย์ การสื่อสาร การขนส่ง
390 ประเพณี ขนบธรรมเนียม คติชนวิทยา
________________________________________
400 ภาษา
410 ภาษาศาสตร์
420 ภาษาอังกฤษ
430 ภาษาเยอรมัน
440 ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมานซ์
450 ภาษาอิตาลี ภาษาโรมัน
460 ภาษาสเปน ภาษาโปรตุเกส
470 ภาษาละติน
480 ภาษากรีก
490 ภาษาอื่นๆ
500 วิทยาศาสตร์
510 คณิตศาสตร์
520 ดาราศาสตร์
530 ฟิสิกส์
540 เคมี
550 วิทยาศาสตร์โลก
560 บรรพชีวินวิทยา
570 ชีววิทยา
580 พฤกษศาสตร์
590 สัตววิทยา

________________________________________
600 วิทยาศาสตร์ประยุกต์ เทคโนโลยี
610 แพทยศาสตร์
620 วิศวกรรมศาสตร์
630 เกษตรศาสตร์
640 คหกรรมศาสตร์ ชีวิตครอบครัว
650 การจัดการธุรกิจ
660 วิศวกรรมเคมี
670 โรงงานอุตสาหกรรม
680 สินค้าที่ผลิตจากเครื่องจักร
690 การก่อสร้าง
________________________________________
700 ศิลปกรรม การบันเทิง
710 ภูมิสถาปัตย์
720 สถาปัตยกรรม
730 ประติมากรรม
740 การวาดเขียน มัณฑนศิลป์
750 จิตรกรรม ภาพเขียน
760 ศิลปะการพิมพ์ ศิลปะกราฟิก
770 การถ่ายรูป ภาพถ่าย
780 ดนตรี
790 การบันเทิง นันทนาการ กีฬา
________________________________________
800 วรรณกรรม วรรณคดี
810 วรรณคดีอเมริกันในภาษาอังกฤษ
820 วรรณคดีภาษาอังกฤษ ภาษาอังกฤษโบราณ
830 วรรณคดีภาษาเยอรมัน
840 วรรณคดีภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมานซ์
850 วรรณคดีภาษาอิตาลี ภาษาโรมัน
860 วรรณคดีภาษาสเปน ภาษาโปรตุเกส
870 วรรณคดีภาษาละติน
880 วรรณคดีภาษากรีก
890 วรรณคดีภาษาอื่นๆ
________________________________________
900 ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์
910 ภูมิศาสตร์ การท่องเที่ยว
920 ชีวประวัติ เครื่องราชอิสริยาภรณ์
930 ประวัติศาสตร์ยุคโบราณ
940 ประวัติศาสตร์ยุโรป โลกตะวันตก
950 ประวัติศาสตร์เอเชีย โลกตะวันออก
960 ประวัติศาสตร์แอฟริกา
970 ประวัติศาสตร์อเมริกาเหนือ
980 ประวัติศาสตร์อเมริกาใต้
990 ประวัติศาสตร์ส่วนอื่นๆ ของโลก

Thank :

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B9%89

http://www.w-nikro.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=381255&Ntype=5

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น